ทำไมถึงต้อง เริ่มธุรกิจอาหารเสริม

ธุรกิจอาหารเสริม ดีกว่าธุรกิจอื่นอย่างไร

เหตุผลในมุมของธุรกิจ

  • เป็นธุรกิจที่มี Barriers to entry อยู่ในระดับที่ยอมรับและแข่งขันได้ (เพื่อลดความเสี่ยงจากคู่แข่งรายใหม่)
  • มีโอกาสสร้างธุรกิจได้หลายส่วน” โดยในบางธุรกิจจะใช้เงินลงทุนน้อยมากๆ เช่น งานทะเบียน แต่ในบางธุรกิจก็ต้องใช้เงินลงทุนมากมาย เช่น การสร้างโรงงาน
  • ธุรกิจอาหารเสริมเป็นธุรกิจที่อยู่ใน trend เสมอ โดยเฉพาะหลังจากโควิด ที่คนเรามี awareness ด้านสุขภาพสูงขึ้นมาก

เหตุผลทางการตลาด

  • สินค้ามักจะมีการซื้อซ้ำบ่อยๆ ทำให้ LTV ของลูกค้า มีมูลค่าสูง
  • ส่วนใหญ่ต้นทุนการผลิตไม่สูงมาก สามารถมาเพิ่มมูลค่าและขายในราคาสูงได้
  • ถ้าเราเข้าใจถึงสารสกัดเชิงลึก ก็จะทำเนื้อหาและตอบคำถามลูกค้าได้ดีขึ้น สร้างความไว้ใจกับลูกค้า
  • เมื่อช่วยเหลือลูกค้าได้ดีพอ และมีภาพลักษณ์เป็นผู้เชี่ยวชาญ ก็จะนำสินค้าอื่น ๆ มาขายร่วมด้วยได้
  • แม้ว่าคนเราจะมี awareness ด้านสุขภาพสูงขึ้น แต่ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพส่วนใหญ่แล้วยังไม่สามารถ (หรือไม่กล้า) ออกมาสื่อสารกับกลุ่มผู้บริโภคให้มากขึ้น ทำให้มีช่องว่างให้นักการตลาดออนไลน์เข้ามา แต่ถ้าต่อ ๆ ไปมีแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โผล่ขึ้นมาจริง ความน่าเชื่อถือที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ตลาดเติบโตได้มากขึ้นกว่านี้แน่นอน(หมายเหตุ ปัจจุบันตลาดอาหารเสริมยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญออกมาพูดคุยเพียงพอ คือมีอยู่บ้าง แต่ว่าน้อย)

ข้อคิด: ธุรกิจอาหารเสริม อาจจะดีกว่าหลายๆธุรกิจ และหลายๆธุรกิจก็อาจจะดีกว่าธุรกิจอาหารเสริม ขึ้นอยู่กับว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และเมื่อไหร่ ตลาดอาหารเสริมนั้นน่าทำก็จริง แต่ก็ไม่ง่าย และมีอุปสรรคไม่น้อย การผลิตอย่างเดียว หรือพึ่งตัวแทนอย่างเดียวโดยไม่สร้างแบรนด์ จะทำให้แบรนด์อายุสั้นได้ ตัวอย่าง ปัญหาในการขายสินค้าผ่านระบบตัวแทนจำหน่าย เช่น การขายตัดราคา ซึ่งจะควบคุมได้ยากโดยเฉพาะกับแบรนด์ที่เน้นรับตัวแทนเป็นหลัก (บางทีแบรนด์กลับตัดราคาเองด้วยซ้ำไป)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกธุรกิจ

  1. การลงทุน(เงิน/เวลา/แรง) และผลตอบแทน (Return on Investment)
  2. ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ คือ อะไร และใครคือลูกค้า
  3. ความต้องการ (Customer lifetime value) และกลุ่มเป้าหมาย (Total addressable market)
  4. การต่อยอดของธุรกิจ (Opportunity) และความมั่นคง

ธุรกิจอาหารเสริม คือ อะไร

ผมให้นิยามของผมเอง ว่า …. ธุรกิจอาหารเสริม คือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ การขายผลิตภัณฑ์และบริการ ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจและอุตสาหกรรม ที่มุ่งหวังให้ผู้บริโภคมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ในปัจจุบันนี้ มีอาหารเสริมในรูปแบบต่างๆ เช่น แบบผง แบบชงดื่ม แบบพร้อมดื่ม แบบเม็ด แบบแคปซูล แบบแคปซูลนิ่ม แบบเยลลี่ โดยอาหารเสริมที่เป็นที่นิยมลำดับต้นๆ เช่น อาหารเสริมจำพวกวิตามิน และอาหารเสริมที่มีสารสกัดของสมุนไพร ใช้เพื่อควบคุมน้ำหนัก ลดความอ้วน บำรุงผิว บำรุงสายตา ลดเบาหวาน ลดไขมันในเลือด เป็นต้น

ทุกวันนี้ ผมยังทำธุรกิจอาหารเสริมเพราะตลาดมีความต้องการ และเป็นธุรกิจที่มีมูลค่า  ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ธุรกิจอาหารเสริม มีอะไรบ้าง

ธุรกิจอาหารเสริมไม่ได้มีแค่การขายอาหารเสริม หรือ รับผลิตอาหารเสริม ธุรกิจด้านนี้ยังครอบคลุมถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่เราสามารถนำตัวเองก้าวไปสู่จุดนั้นเพื่อเป็นผู้ดำเนินธุรกิจได้ ดังนั้น ก่อนอื่นผมอยากให้ท่านเห็นภาพรวมแบบกว้างๆของธุรกิจอาหารเสริมกันก่อนว่ามีอะไร และเราสามารถสร้างรายได้มาจากช่องทางไหนได้บ้าง

ถ้าเราเห็นโอกาส และสามารถนำประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญมาใช้ การเริ่มต้น หรือต่อยอดธุรกิจก็คงจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากยังเป็นผู้เริ่มต้น ผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลังจากที่ท่านได้อ่านบทความนี้แล้ว ก็จะพอมีความเข้าใจ และเลือกที่จะเข้าสู่ธุรกิจอาหารเสริม (จะเป็นจุดใดจุดหนึ่งของระบบก็ได้) ตามที่ท่านได้พิจารณาแล้วว่าเหมาะสม เพราะการเลือกเข้าธุรกิจที่ดี ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอันดับแรก ตัวอย่างเช่น

Part I: B2C/B2B2C

  • ขายอาหารเสริมแบรนด์ตัวเองด้วยการผลิตเอง หรือ จ้างโรงงานผลิต
  • เป็นตัวแทนจำหน่ายอาหารเสริม ให้กับแบรนด์ต่างๆ จากทั้งในและต่างประเทศ
  • ระบบคลังสินค้า การจัดส่ง และระบบการจัดจำหน่าย
  • ขายอาหารเสริมภายใต้ธุรกิจขายตรง
  • รับรีวิวอาหารเสริม

Part II: B2B

  • โรงงานผลิตอาหารเสริม ผลิตให้กับแบรนด์ตัวเอง หรือ รับ OEM ให้กับคนอื่น หรือ แม้แต่ผลิตตามออเดอร์ของโรงงานอื่น
  • รับออกแบบ และก่อสร้างโรงงานอาหารเสริม
  • เป็นที่ปรึกษาโรงงาน ฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ หรือ อื่นๆ
  • ขายเครื่องจักร อะไหล่ และงานซ่อมบำรุง สำหรับโรงงานผลิตอาหารเสริม
  • ขายอุปกรณ์ทางห้องปฏิบัติการ สำหรับโรงงานผลิตอาหารเสริม
  • ขายวัตถุดิบ และสารเคมี สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม
  • ขายสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆที่โรงงานอาหารเสริมจำเป็นต้องใช้
  • การจัดอบรม เรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (กฎหมาย ความปลอดภัย ระบบเอกสาร การตลาด การผลิต ฯลฯ)
  • ขายบรรจุภัณฑ์ วัสดุต่างๆ และ/หรือ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ (กล่อง ลัง ภาชนะบรรจุ ฯลฯ)
  • รับขึ้นทะเบียนเกี่ยวกับอาหารเสริม และการขออนุญาตกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำหรับการขายในประเทศ
  • รับนำเข้าอาหารเสริมจากต่างประเทศ และ ส่งออกอาหารเสริมไปขายต่างประเทศ (งานทะเบียนและตัวแทนออกของ)
  • รับทำการตลาด เป็นที่ปรึกษาทางการตลาด
  • ที่ปรึกษา และรับดำเนินการด้านมาตรฐานอุตสาหกรรม เช่น ISO GMP HACCP
  • งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • งานวิจัยทางการตลาด (ก่อนทำการผลิตและจำหน่าย)
  • บริษัทจัดหางาน
  • ระบบบริหาร การจัดการข้อมูล งานบัญชี ฯลฯ

ถึงตอนนี้ ท่านคงจะพอรู้ภาพรวมของธุรกิจ(เท่าที่ผมนึกออก) กันแล้วนะครับ และเราคงเห็นพ้องต้องกันได้ว่า “มีโอกาสสร้างธุรกิจได้หลายส่วน” โดยในบางธุรกิจจะใช้เงินลงทุนน้อยมากๆ เช่น งานทะเบียน แต่ในบางธุรกิจก็ต้องใช้เงินลงทุนมากมาย เช่น การสร้างโรงงาน

ธุรกิจอาหารเสริม ทำยังไงให้แตกต่าง และทำยังไงให้เติบโต

ในบทความนี้ ผมจะเขียนไว้ให้เป็นหัวข้อ ซึ่งแต่ละข้อนั้นมีรายละเอียดที่สามารถแยกพิจารณาได้ตามแต่ประเภทของธุรกิจ (ละเอียด) ซึ่งจะกล่าวในวีดีโอเป็นลำดับถัดไปครับ

  • Products
    • Efficiency – Tolerability – Adherence
      • Formulation
      • Creativity & Innovation
      • Affordability
  • Reliability
    • Testing (clinical/review)
  • Seller/Teller (Company)
  • Customer Focus