จากประสบการณ์ที่ DigiTide ได้ไปเจอเจ้าของธุรกิจและแบรนด์หลายราย โดยเฉพาะธุรกิจแบบ B2B (Business to Business — ซึ่งหมายถึงธุรกิจที่ต้องการขายสินค้าหรือบริการให้กับองค์กรหรือหน่วยงานทางธุรกิจเหมือนกัน) ปรากฏว่า เจ้าของธุรกิจยังไม่สามารถใช้สื่อออนไลน์ได้เต็มศักยภาพ
สิ่งที่เราพบเจอบ่อยก็คือ ธุรกิจส่วนใหญ่มักจะทำการตลาดออนไลน์ตาม ๆ กันไป ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจในอดีตมักสร้างเว็บไซต์ไว้เพียงเพื่อโชว์ข้อมูลรายละเอียดของบริษัท (ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วตัวเว็บไซต์สามารถใช้ทำตลาด B2B เพื่อหารายชื่อลูกค้าใหม่ได้) ในขณะที่ธุรกิจ B2B ในปัจจุบันกลับให้ความสำคัญกับแฟนเพจมากกว่าเว็บไซต์ ขนาดที่ว่าบางรายไม่มีหรือไม่ใส่ใจเว็บไซต์ตัวเอง (ทั้งที่ตัวเว็บไซต์ B2B เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือและดึงดูดลูกค้าด้วย content)
แล้วการตลาดออนไลน์สำหรับธุรกิจ B2B นั้นซับซ้อนมากไหมล่ะ?
ทาง DigiTide ตอบได้ง่าย ๆ เลยว่า ธุรกิจแบบ B2B ส่วนใหญ่ยังไม่ต้องถึงกับใช้กลยุทธการตลาดออนไลน์แบบซับซ้อนหรอกครับ ขอเพียงแค่ตั้งใจปรับแนวทางในสื่อออนไลน์หลักของตัวเอง ซึ่งได้แก่เว็บไซต์กับแฟนเพจ ให้ได้ 4 อย่างนี้ก็พอแล้วครับ
1. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ
- สร้างเว็บไซต์เพื่ออะไร? คำตอบอาจมีตั้งแต่ การทำ SEO เพื่อดึงดูดลูกค้าเป้าหมายให้เข้ามาเสพ content, กระตุ้นให้มีการสมัครสมาชิกภายในเว็บไซต์, ใช้บทความเพื่อนำไปสู่สินค้าหรือบริการที่วางขายอยู่, หรือเก็บรายชื่อผู้เข้าชมเพื่อส่งโฆษณาหรืออีเมล์ตามไปทีหลัง ฯลฯ ซึ่งอาจมีวัตถุประสงค์มากกว่าหนึ่งก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม พอมีวัตถุประสงค์ของการใช้เว็บไซต์ที่ชัดเจน
- สร้างแฟนเพจเพื่ออะไร? ธุรกิจ B2B หลายรายใช้แฟนเพจเพื่อปั้น brand awareness ซึ่งก็ไม่ใช่คำตอบที่ผิดนัก แต่ว่าเราจำเป็นต้องเข้าใจว่า awareness ที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่สามารถไปสู่ลูกค้าองค์กรได้ง่าย ๆ นัก จึงต้องมีการใช้ content ในเว็บไซต์เพื่อกรองลูกค้าที่ใช่จริง ๆ ก่อนที่จะส่งโฆษณาตามไปปิดการขาย (ยกตัวอย่างเช่น ใช้ facebook pixel เพื่อเก็บ audience สำหรับส่งโฆษณาตามไปทีหลัง เป็นต้น)
- บทความแนะนำให้อ่านเพิ่มเติม
2. ตรงกับความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย
- เมื่อลูกค้าพบเห็นธุรกิจจากแฟนเพจหรือสื่อโซเชียลอื่น ๆ พวกเขามักอยู่ในระยะเริ่มต้นของการรู้จักสินค้าและบริการ ดังนั้น content ในสื่อนี้จึงจำเป็นจะต้องมีเนื้อหาที่กระตุ้นความสนใจเป็นหลัก ในขณะที่เนื้อหาเชิงลึกอาจถูกเก็บไว้ให้กับลูกค้าที่เข้ามาค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์แล้ว
- เมื่อลูกค้าเข้ามาในเว็บไซต์ ในเมื่อลักษณะของสินค้าหรือบริการของธุรกิจ B2B ส่วนใหญ่ มักจะมีความซับซ้อนในรายละเอียด และลูกค้าเป้าหมายจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาหาข้อมูล แต่เว็บไซต์ B2B กลับไม่มี content เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ลูกค้าเกี่ยวกับสินค้าบริการของตน (ในเคสนี้ อาจมีการแบ่งระดับความน่าสนใจของลูกค้าเป้าหมาย และวาง content ให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มด้วย)
- น่าสนใจและตรงประเด็น การเขียน content โดยเฉพาะในเว็บไซต์ของธุรกิจ B2B หลายครั้งที่เนื้อหามักมีรูปแบบที่เป็นทางการมากเกินไป บางครั้งก็เกริ่นเนื้อหาเกี่ยวกับองค์กรเสียเยิ่นเย้อ โดยเข้าใจผิดกันว่านี่คือความน่าเชื่อถือ ซึ่งไม่ใช่เลย!
- อ่านแล้วเข้าใจง่าย ทั้งรูปแบบการเขียน การเว้นวรรค การใช้คำเน้น การจัดหน้า การวางภาพ การใช้วิดีโอ ฯลฯ
- สรุปเนื้อหาทางเทคนิคให้ย่อยง่ายขึ้น หลายครั้งที่ธุรกิจเอาเอกสารทางเทคนิคมาวางในเว็บไซต์แบบตรง ๆ ซึ่งนอกจากผู้อ่านส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจแล้ว ยังทำให้ภาพรวมของบริษัทดูเข้าถึงยากขึ้นด้วยซ้ำไป
4. ปรับเว็บให้เป็น mobile site
- แม้ว่า mobile traffic ที่เข้าไปยังเว็บไซต์ของธุรกิจ B2B จะไม่เยอะเท่ากับธุรกิจ B2C ก็ตาม แต่ปริมาณก็เพิ่มสูงขึ้นทุก ๆ ปี (สำหรับเว็บไซต์ของ DigiTide เองนั้น ตัวเลข mobile traffic อยู่แถว 50%) ดังนั้นถ้าเว็บไซต์ไม่สามารถแสดงผลทางมือถือได้ดูเป็นมืออาชีพ โอกาสทางธุรกิจก็จะลดน้อยลงไปด้วยเช่นกัน
เป็นอย่างไรบ้างครับ แค่ 4 ข้อนี้คงไม่ยากเกินไปกระมัง แต่ถ้าทำได้ทั้งหมดก็จะช่วยธุรกิจ B2B ของคุณได้อย่างแน่นอน
อยากให้เราเขียนเรื่องอะไรอีก บอกเรามาได้เลยนะครับ
ทีมงาน DigiTide