การใช้ Value Ladder วางโครงสร้าง product / service ของผู้เชี่ยวชาญ 

ผู้เชี่ยวชาญที่อยากสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์นั้น ควรวางแผนการสร้าง content เพื่อนำไปสู่สินค้าและบริการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน การขาดโครงสร้างที่เหมาะสมอาจจะสร้างปัญหาได้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น การมีสินค้า/บริการอยู่ตัวเดียว ถ้าราคาสูง ก็จะทำให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการครั้งแรกได้ลำบาก แต่ถ้าราคาต่ำ ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากกลุ่มลูกค้าได้เต็มที่ (หรือ อาจทำให้ position ดูต่ำกว่าความเป็นจริงไปด้วย) การมีสินค้า/บริการอยู่หลายตัว แต่กลับไม่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างสินค้า/บริการแต่ละตัว ก็ทำให้เราใช้ประโยชน์จากลูกค้าเก่า (ที่น่าจะชอบบริการของเราแล้ว) ได้ไม่เต็มที่เช่นกัน ดังนั้นเราจึงเสนอแนะให้ทำ Value Ladder ของสินค้า/บริการเอาไว้ด้วย ยกตัวอย่างง่าย ๆ ดังตัวอย่างในรูปนี้เลย // รูป Value Ladder // จะเห็นว่าการวาง Value Ladder แบบนี้ จะทำให้ลูกค้าเข้ามาพบเจอเราได้ง่าย เพราะเข้ามาด้วยสินค้า/บริการที่ราคาถูกที่สุดของเราก่อน แต่สิ่งสำคัญคือพวกเขาต้อง (1) ชื่นชอบสินค้า/บริการของเราหลังจากได้ใช้แล้ว (2) รู้สึกถึงตัวตนของเรา และสิ่งที่ทำให้เราแตกต่างจากคู่แข่งในท้องตลาด เพราะถ้ามีทั้งสองปัจจัยนี้ เราก็จะสามารถชักนำเขาให้เดินขึ้นบันได พูดง่าย ๆ ก็คือซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่ราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ได้นั่นเอง ซึ่งจากในตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ลูกค้าอาจจะเริ่มจากการซื้อหนังสือในราคาหลักร้อย แล้วค่อยเข้าคอร์สเรียนในราคาหลักพัน จากนั้นใช้บริการที่ปรึกษาในราคาหลักหมื่น […]

How to สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ในฐานะ “ผู้เชี่ยวชาญ” (Expert Branding and Marketing)

การสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ หรือ Expert Branding นั้น มีแนวทาง/ขั้นตอน/ปัจจัยที่แตกต่างจากการสร้างแบรนด์ให้ตัวเองหรือ Personal Branding โดยทั่วไปอยู่ตรงที่ เราสามารถสร้าง personal brand ด้วย content ที่แตกต่างด้วยบุคลิกและตัวตน แต่การสร้างแบรนด์ในภาพลักษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จะสามารถจับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอีกระดับหนึ่ง จึงต้องวางแผนทั้ง Branding & Marketing ให้ละเอียดยิ่งกว่านั้น! บทความนี้ของเรา จึงจะครอบคลุมประเด็นของ Expert Branding ทั้งหมด ยาวไปถึง Expert Marketing ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวม และองค์ประกอบสำคัญทั้งหมด รวมไปถึงการเชื่อมโยงทุกองค์ประกอบเข้าด้วยกัน โดยเราจะพยายามอธิบายแต่ละประเด็นในบทความนี้ให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ถ้าประเด็นไหนต้องการคำอธิบายยาว ๆ ผมจะเพิ่มเติมเนื้อหาเรื่อย ๆ ในทุกสัปดาห์นะครับ (ผมไม่รู้ว่าบทความนี้จะยาวขนาดไหน จะจบเมื่อไหร่ เข้ามารออ่านเองในทุกวันพฤหัสนะครับ) ประเด็นที่ต้องรู้… ก่อนสร้างภาพลักษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ถ้ายังไม่แน่ใจว่าจะสร้างตัวตนในฐานะผู้เชี่ยวชาญดีไหม ให้อ่าน section นี้ก่อนนะครับ แต่ถ้ามั่นใจแล้วว่าจะทำแน่ ก็ข้ามไปส่วนขั้นตอนการทำได้เลย “ประโยชน์” ของการมีภาพลักษณ์ของ “ผู้เชี่ยวชาญ” หรือ […]

ธุรกิจ B2B และ Distributor ขนาดกลางและใหญ่ จะเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างไร

เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านการเสพข่าวสารและการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ธุรกิจ B2B และ distributor รายใหญ่ถึงกลาง จึงไม่สามารถเพิ่มยอดขายด้วยการใช้แนวทางเดิม ๆ ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ในอดีตนั้น ธุรกิจ B2B มักจะหาลูกค้าผ่านการติดต่อโดยตรง ซึ่งสามารถเป็นไปได้ตามกรณีในต่อไปนี้ ติดต่อผ่านทาง connection ที่มีอยู่ ซึ่งกรณีนี้จะมีข้อได้เปรียบคู่แข่งในระดับหนึ่ง แต่การอาศัย connection เพียงอย่างเดียวนั้น จะทำให้เกิดขีดจำกัดในการขยายตัวทางธุรกิจได้ ติดต่อผ่านทางรายชื่อที่ได้มาจากวิธีอื่น ซึ่งอาจเป็นรายชื่อของธุรกิจใหญ่ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปอยู่แล้ว หรืออาจเป็นรายชื่อที่ถูกซื้อมาจากแหล่งขายอื่น หรือเป็นได้แม้กระทั่งรายชื่อที่ถูกเอามาจากข้อมูลส่วนกลางของหน่วยงานราชการ — ซึ่งธุรกิจต้องให้พนักงานขายติดต่อเข้าไปขอแนะนำตัวเองและนำเสนอสินค้า/บริการ ที่ลูกค้าเหล่านั้นอาจไม่เคยรู้จักหรือคุ้นเคยมาก่อนเลย (Cold Calling) ปัญหาของการติดต่อลูกค้าด้วยแนวทางเดิม ๆ นี้ ✘ ยอดขายถูกจำกัด หรือการเติบโตทำได้ช้า – การเพิ่มจำนวนรายชื่อลูกค้า (Lead) แต่ยังอาศัยการ Cold Calling เป็นหลัก จะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ช้าและยาก จึงทำให้ไม่ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ✘ การเพิ่มพนักงาน sales ไม่ได้เพิ่มยอดขายมากขึ้น – พนักงานไม่สามารถหา Lead ระดับองค์กรด้วยตัวเองได้ หรือถ้าใช้ connection […]

DigiTide+Wisible = เครื่องมือการตลาด B2B ตั้งแต่ต้นทาง ยันสุดปลายทาง!

ปัญหาการตลาดของกลุ่มของธุรกิจ B2B หรือกลุ่ม Distributor ปัญหาในการหาลูกค้า มักใช้การสร้างลูกค้าโดยผ่านการติดต่อโดยตรง (Cold Calling) ผ่านเซลล์เป็นหลัก ซึ่งมีการแข่งขันสูง (เพราะไปโฟกัสที่กลุ่มตลาดลูกค้ารายใหญ่ที่คู่แข่งก็รู้จักดี — ยกตัวอย่างเช่น List รายชื่อ trader ที่ถูกซื้อมาจากเอเจนซี่ เป็นต้น) มักใช้รูปแบบการบอกต่อแบบปากต่อปาก ซึ่งถ้าเป็นเคส B2C นั้นการบอกต่อในปัจจุบันอาจรวดเร็วด้วยมีสื่อออนไลน์มากมาย แต่ว่าถ้าเป็นเคส B2B นั้น การบอกต่อเกิดขึ้นได้ช้ามาก เพราะจุดสัมผัส (touchpoint) ไม่ได้มีเยอะเหมือน B2C จากปัญหาข้อ 2 และ 3 ทำให้จำเป็นต้องขยายตลาดด้วยการสร้างรายชื่อลูกค้ารายใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการ prospecting ลูกค้าในแบบที่ขาดกลยุทธ์ (เช่นเดิมที่จะใช้วิธีซื้อรายชื่อ ซึ่งก็จะเกิดปัญหาเดิมซ้ำซ้อน) อีกทั้งลูกค้าก็ไม่ได้มี brand awareness มาก่อน ทำให้ปิดการขายไม่ได้ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ “รายชื่อลูกค้าขาดคุณภาพ” นั่นเอง ปัญหาในการติดตามผลและปิดการขาย เมื่อมีลูกค้าใหม่ติดต่อเข้ามาที่บริษัท ระบบการทำงานแบบเก่าของเซลล์ที่ทำกันผ่านเอกสาร (หรือ Excel) กลับไม่สามารถติดตามความคืบหน้าของการพูดคุยระหว่างเซลล์กับลูกค้าได้ […]

4 องค์ประกอบสำคัญที่ต้องคำนึง เมื่อเขียนแผนการตลาดในแผนธุรกิจ

ในการวางแผนการธุรกิจนั้น แผนการตลาดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่นักธุรกิจให้ความสนใจเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งสาเหตุหลักก็เพราะมันอธิบายวิธีสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ ทำอย่างไรลูกค้าถึงจะซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา ซึ่งโดยมากแล้วตัวแผนการตลาดนี้จะต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คำอธิบายผลิตภัณฑ์หรือบริการ และจุดขายที่แตกต่าง (หรือ USP – Unique Selling Point) โครงสร้างราคา แผนการขาย/การกระจายสินค้า แผนการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ขออธิบายทีละตัวแบบคร่าว ๆ นะครับ คำอธิบายผลิตภัณฑ์หรือบริการ และจุดขายที่แตกต่าง (หรือ USP – Unique Selling Point) เริ่มจากการโฟกัสว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรานั้นจะสร้างประโยชน์อะไรให้กับลูกค้าได้บ้าง จากนั้นใช้แง่มุมนี้ในการเขียนอธิบายสินค้ามาโดยสรุปประมาณสัก 1 ย่อหน้า จากนั้นจึงค่อยไปคุยถึงเรื่องคุณสมบัติ คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา เป็นคำอธิบายคุณสมบัติทางกายภาพของสินค้า (หรือบริการ) ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น มันทำอะไรได้บ้าง มีประโยชน์อะไรบ้าง อ้อ พึงระลึกไว้ว่าเจ้าประโยชน์ที่กล่าวนี้ จะเป็นประโยชน์ที่เห็นได้ด้วยตาหรือไม่ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าขายผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอาง นอกจากลูกค้าจะได้ผิวหน้าที่สะอาดขึ้นแล้ว ก็จะดูมีเสน่ห์อ่อนกว่าวัยได้อีกด้วย หรือถ้าใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจานชาม นอกจากความสะอาดก็ยังสร้างเสริมสุขภาพที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน — ตรงจุดนี้ถ้าเป็นไปได้ ทางทีมผู้บริหารและนักการตลาดทั้งหลายก็ควรมานั่งพูดคุยกันแล้วใส่ไอเดียเข้ามาคนละนิดละหน่อย ทำไปจนนึกไม่ออกแล้วว่าจะมีอะไร […]

สรุปเนื้อหา LIVE กับเจ้าของโรงงานผลิตอาหารเสริมเครื่องสำอาง #ตอนที่ 1

ที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ live คุยกับเจ้าของโรงงานอาหารเสริมเครื่องสำอาง

หลังจากที่เราได้ Live ทางเฟซบุ๊คกับคุณไก่ เภสัชกรเจ้าของโรงงานอาหารเสริมและเครื่องสำอาง เพื่อแบ่งปันแนวคิดและประสบการณ์ให้แก่นักธุรกิจในสายนี้ หรือผู้ที่กำลังสนใจธุรกิจสินค้าแนวนี้อยู่ (สามารถไปชมคลิปของตอนที่ 1 ได้ที่ https://www.facebook.com/digitide.co/videos/606122399898367/) โดยเราแบ่งคลิปออกเป็น 4 ตอน และต่อไปนี้เป็นการสรุปเนื้อหาประเด็นสำคัญของตอนที่ 1 คำถามที่ 1: ถ้าจะแนะนำผู้ที่อยากมาลงทุนทำธุรกิจนี้ จะแนะนำให้เขามาทำสินค้าประเภทไหน ระหว่างอาหารเสริม เครื่องสำอาง หรือสกินแคร์ คำตอบ: จะแนะนำให้ทำตลาดอาหารเสริม ด้วยสาเหตุหลายประการดังต่อไปนี้ เรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อาหารเสริมจึงมีความจำเป็นเพิ่มขึ้น อาหารเสริมมีลูกค้าหลายกลุ่ม ความต้องการก็หลากหลาย ต่างกับเครื่องสำอางที่ยังแยกลูกค้าได้ลำบากกว่า อาหารเสริมมีความต้องการจริงจังมากากว่า และมีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตสูงกว่า ดังนั้นถ้ามองในระยะยาว ก็จะยั่งยืนกว่า ถ้ากระตุ้นให้คนกินได้แล้ว อาหารเสริมจะได้ลูกค้าที่มี loyalty สูงกว่า คำถามที่ 2 สิ่งที่ควรเตรียมก่อนที่จะมาคุยกับทางโรงงาน คำตอบ: โดยมากเจ้าของโรงงานจะถาม budget ก่อน ว่ามีงบในการลงทุนเท่าไหร่ โดยในส่วนของคุณไก่นั้น เนื่องจากทำการตลาดเป็นด้วยและเป็นเภสัชกรเองด้วย ดังนัั้นจึงจะช่วยแนะนำแนวทางได้ละเอียดขึ้น เช่น พูดคุยว่าถ้ามีงบเท่านี้ควรจะทำอะไร อย่างถ้าจะทำอาหารเสริม ทางคุณไก่ก็ต้องดู background รวมไปถึงจริตของเจ้าของแบรนด์ ก่อนที่จะให้คำแนะนำว่าควรทำอาหารเสริมในหมวดไหน […]

เล่าอดีต… ธุรกิจ B2B กับ Email Marketing, Attraction Marketing, และ Content Marketing

นี่คือกรณีศึกษาที่บ่งบอกถึงแก่นการทำตลาดออนไลน์อันเดียวกันที่ถูกนำไปใช้ในธุรกิจที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในธุรกิจ B2B เมื่อหลายปีก่อน ผมได้รับอีเมล์ขายสินค้าช่วยลดน้ำหนักกับการทำงานผ่านเน็ต ถัดจากนั้นอีกไม่กี่วันได้อีเมล์แนะนำหุ้นด้านพลังงาน จากนั้นก็ได้รับอีเมล์ที่จะขายรายชื่ออีเมล์ 2 ล้านกว่ารายชื่อ สังเกตไหมครับว่า 2 อันแรกเป็นการทำตลาดผ่านอีเมล์แบบโดยตรง ส่วนอันสุดท้ายเป็นการเสนอขายรายชื่ออีเมล์กันโต้ง ๆ ซึ่งหลายคนอาจไม่แน่ใจว่ามันจะได้ผลไหม… การตลาดทางอีเมล์ (email marketing) เป็นการตลาดเชิงรุกที่ได้รับคำยืนยันจากหลาย ๆ บริษัท (รวมถึงบริษัทวิจัยตลาด) ว่ามีประสิทธิภาพสูง มีอัตราการ convert ที่ดี (มีลูกค้าสนใจมาซื้อสูง เมื่อเทียบกับจำนวนข่าวสารที่ส่งออกไป) โดย Email Marketing จัดเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาด B2B ที่ยังถูกใช้กันอย่างแพร่หลายและได้ผลลัพธ์จริง อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นเฉพาะในกรณีที่ผู้รับเมล์นั้นเต็มใจที่จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ (ถ้าสนใจ สามารถคลิกอ่านบทความ กลยุทธ์ Content Marketing ในการทำตลาดธุรกิจ B2B ได้ที่นี่) และเทคนิคนี้คือสิ่งที่ธุรกิจเครือข่ายหลายชั้นแบบ MLM ทั้งหลายมักนำมาใช้อยู่บ่อย ๆ โดยจะเริ่มจากการทำเว็บให้ดูน่าเชื่อถือ น่าสนใจ และดึงเอาผู้ที่อยากรวยเร็วทั้งหลายมากรอกอีเมล์ของตนเพื่อรอรับข่าวสารเพิ่มเติม … ซึ่งประเด็นสำคัญของเจ้าการตลาดแบบนี้ก็อยู่ตรงการสร้าง list […]

กรณีศึกษาการตลาดออนไลน์ สำหรับโรงพยาบาล ตอนที่ 2 Content Marketing

เดี๋ยวนี้โรงพยาบาลได้หันมาทำการตลาดออนไลน์ด้วย Content Marketing กันมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสามารถสร้างการรับรู้ของแบรนด์ ความน่าเชื่อถือ และเพิ่มยอดขายได้ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การสร้าง Content ในสื่อโซเชียลนั้นออกจะเป็นเรื่องที่มีคนทำกันเยอะมาก เราเลยขอยกบางเคสที่ทำได้น่าสนใจมาให้ดูเป็นตัวอย่าง เคสที่น่าสนใจ: การแยก Segment ลูกค้า ในเคสนี้ โรงพยาบาลลาดพร้าวตัดสินใจแยกแฟนเพจของศูนย์เลสิคออกจากแฟนเพจหลัก ซึ่งจัดว่าเป็นการตัดสินใจที่ดี เพราะลองสังเกตรูปข้างล่าง เราจะเห็นว่าแฟนเพจของโรงพยาบาลลาดพร้าวนั้น มีการใส่ชื่อบริการเอาไว้หลากหลาย ทั้งเรื่องผิวหนัง ทันตกรรม และอื่น ๆ อีกมากมาย — ซึ่งนั่นทำให้ทางแฟนเพจหลักของโรงพยาบาลลาดพร้าวนั้นต้องพูดถึงโรค (และบริการ) หลาย ๆ แบบพร้อมกัน ไปยังกลุ่มคนหลายกลุ่มที่แตกต่างกันไป ซึ่งพอกลุ่มเป้าหมายนั้นใหญ่เกินไป การจะมีแฟนคลับตัวจริงก็เกิดได้ยากขึ้นเช่นกัน (เมื่อเท่ียบกับแฟนเพจศูนย์เลสิคแล้ว ทางแฟนเพจหลักมียอด like น้อยกว่าเป็นหลักหมื่น แถมยังไม่มี top fans ในขณะที่แฟนเพจศูนย์เลสิคมี top fans อยู่ไม่น้อย — อ้อ ทางแฟนเพจเลสิคยังมีคนพร้อมเขียนแนะนำและรีวิวพร้อมรูปภาพเสียด้วย) ในเคสที่แบ่ง segment ลูกค้าได้ชัดเจนแบบนี้ การทำ […]

เรียนการตลาดออนไลน์ที่ไหนดี — DigiTide เล่าแนวทางส่วนตัวที่ใช้พิจารณา

ในฐานะที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์และแบรนดิ้ง — รวมถึงการเป็นวิทยากรในงานสัมมนามาหลากหลาย ทั้งของตัวเอง ของบริษัท รวมถึงของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน — มีคำถามหนึ่งที่ถูกถามซ้ำไปซ้ำมาอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ นั่นก็คือ ถ้าอยากศึกษาเรื่องการตลาดออนไลน์ ควรไปเรียนที่ไหนดี? ซึ่งไม่มีคำตอบไหนถูกต้องในทุกสถานการณ์ เพราะแต่ละคนก็มีปัจจัยและเงื่อนไขต่างกัน เหมาะสมกับเนื้อหาและอาจารย์ที่ต่างกันไป (ขนาดขายสินค้าแบบเดียวกัน ทำธุรกิจอย่างเดียวกัน คำตอบยังต่างกันเลย) ดังนั้นเราต้องลองหารายละเอียดของคอร์ส แล้วคิดวิเคราะห์ตามแนวทางต่อไปนี้ดูนะครับ ถ้าคอร์สนั้นโชว์แต่ผลลัพธ์ที่ทำได้ แต่ไม่ค่อยบอกรายละเอียดเนื้อหา พึงระลึกไว้เสมอว่า ตัวเลขผลลัพธ์ที่ได้มานั้น เกิดได้จากหลายปัจจัยมาก ๆ และส่วนใหญ่จะไม่สามารถเล่าเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น การโชว์ว่ายอดขายสูงมาก — แต่ไม่ได้เล่าว่าใช้งบประมาณหรือทรัพยากรไปทั้งหมดเท่าไหร่กว่าจะได้ยอดเท่านั้น การโชว์ว่าจำนวน inbox เข้ามาเยอะ — ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปิดการขายได้ครบทั้งหมด การโชว์ว่ายอดคน engage สูง จำนวนคนเห็นเยอะมาก — แต่ไม่ได้โชว์ว่าเนื้อหานั้น mass ขนาดไหน และตรงกับกลุ่มลูกค้าจริงไหม และเคสอื่น ๆ อีกมากมายยยย ใช่ว่าเราจะบอกว่าหลักสูตรนั้นโกหกหรอกนะครับ เพราะก็มีหลายคอร์สที่ทำผลลัพธ์ได้จริงด้วยงบประมาณที่เหมาะสมจริง แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เรียนพึงระลึกไว้ก่อนก็คือ กลุ่มนักขายออนไลน์ในปัจจุบันนั้น มีหลายคนมาก […]

กรณีศึกษาการตลาดออนไลน์สำหรับโรงพยาบาล: ตอนที่ 1 การโฆษณาออนไลน์

แม้ว่าธรรมชาติของธุรกิจโรงพยาบาลจะผ่านการพบเจอหน้ากันแบบตัวเป็น ๆ ก็ตาม แต่สื่อออนไลน์กลับมีความสำคัญต่อธุรกิจโรงพยาบาลอยู่ไม่น้อย (ซึ่งรวมถึงธุรกิจสถานพยาบาลอื่น ๆ อย่างเช่น คลินิกเฉพาะทาง สถานพักฟื้นผู้ป่วย เป็นต้น) ซึ่งบทบาทของสื่่อออนไลน์สำหรับสถานพยาบาลในปัจจุบันนั้น ไม่ได้มีแต่การสร้างการรับรู้ของแบรนด์ (brand awareness) เพียงอย่างเดียวเหมือนที่เคยเข้าใจกันในอดีต (ที่ผ่านมานานแล้ว) แต่กลับยังสามารถถูกใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การทำให้แบรนด์เป็น top of mind หรือแม้กระทั่งการสร้างลูกค้าผ่านการโฆษณาโดยตรงไปยังผู้ป่วยเฉพาะโรคเลยทีเดียว ในบทความตอนที่ 1 นี้ DigiTide จึงจะยกตัวอย่างกรณีศึกษาของโรงพยาบาลที่ใช้การโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์เพื่อสร้างลูกค้าโดยตรง ซึ่งเรามีทั้งเคสที่ดี และเคสที่ไม่ดีมาให้ร่วมพิจารณาและรับชมกัน (ส่วนในตอนที่ 2 เราย้ายไปคุยถึงกรณีศึกษาด้านกลยุทธ์ Content Marketing ของโรงพยาบาล) พอพูดถึงการโฆษณาออนไลน์ในเคสของตลาดธุรกิจสถานพยาบาลแล้ว ทางเลือกที่ชัดเจนก็คือการส่งโฆษณาไปหาเป้าหมายที่เป็นโรคเฉพาะทาง ซึ่งในบทความนี้ เราขอยกตัวอย่างผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งตัว Google Ads (โฆษณาผ่านกูเกิ้ล) จะเป็นทางเลือกที่ชัดเจนสำหรับเคสนี้ เพราะผู้ป่วย (หรือญาติผู้ป่วย) มักจะใช้กูเกิ้ลเป็นหลักในการค้นหาวิธีรักษาข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากมีโอกาสค้นหาข้อมูลได้อย่างละเอียดและตรงประเด็น (เป็นเรื่องปกติที่ ผู้ค้นหาจะอยู่ในสถานะที่พร้อมใช้บริการมากกว่ากลุ่มที่แค่เห็นโพสต์ในสื่อโซเชียล) (โรงพยาบาลบางแห่งอาจเลือกใช้สื่อโซเชียลอย่าง Facebook แทน — […]