เดี๋ยวนี้โรงพยาบาลได้หันมาทำการตลาดออนไลน์ด้วย Content Marketing กันมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสามารถสร้างการรับรู้ของแบรนด์ ความน่าเชื่อถือ และเพิ่มยอดขายได้ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การสร้าง Content ในสื่อโซเชียลนั้นออกจะเป็นเรื่องที่มีคนทำกันเยอะมาก เราเลยขอยกบางเคสที่ทำได้น่าสนใจมาให้ดูเป็นตัวอย่าง
เคสที่น่าสนใจ: การแยก Segment ลูกค้า
ในเคสนี้ โรงพยาบาลลาดพร้าวตัดสินใจแยกแฟนเพจของศูนย์เลสิคออกจากแฟนเพจหลัก ซึ่งจัดว่าเป็นการตัดสินใจที่ดี เพราะลองสังเกตรูปข้างล่าง เราจะเห็นว่าแฟนเพจของโรงพยาบาลลาดพร้าวนั้น มีการใส่ชื่อบริการเอาไว้หลากหลาย ทั้งเรื่องผิวหนัง ทันตกรรม และอื่น ๆ อีกมากมาย — ซึ่งนั่นทำให้ทางแฟนเพจหลักของโรงพยาบาลลาดพร้าวนั้นต้องพูดถึงโรค (และบริการ) หลาย ๆ แบบพร้อมกัน ไปยังกลุ่มคนหลายกลุ่มที่แตกต่างกันไป
ซึ่งพอกลุ่มเป้าหมายนั้นใหญ่เกินไป การจะมีแฟนคลับตัวจริงก็เกิดได้ยากขึ้นเช่นกัน (เมื่อเท่ียบกับแฟนเพจศูนย์เลสิคแล้ว ทางแฟนเพจหลักมียอด like น้อยกว่าเป็นหลักหมื่น แถมยังไม่มี top fans ในขณะที่แฟนเพจศูนย์เลสิคมี top fans อยู่ไม่น้อย — อ้อ ทางแฟนเพจเลสิคยังมีคนพร้อมเขียนแนะนำและรีวิวพร้อมรูปภาพเสียด้วย)
ในเคสที่แบ่ง segment ลูกค้าได้ชัดเจนแบบนี้ การทำ content marketing ของแฟนเพจศูนย์เลสิคก็จะง่ายตามไปด้วย โดยเฉพาะในเคสเรื่องเลสิคนี้ ส่วนใหญ่ก็จะเป็น content ด้านการให้ความรู้ด้านเลสิค รวมถึงใส่รีวิวของคนที่มาทำเลสิคเข้าไปเรื่อย ๆ
แม้ว่า content แบบวิดีโอในแฟนเพจจะยังดูเป็นวิชาการไปนิด แต่สำหรับเคสทำเลสิคนี่ กลุ่มลูกค้าน่าจะเป็นผู้ที่ทำการบ้านมาดีระดับหนึ่งแล้ว จึงไม่มีปัญหาอะไรนัก อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์เลสิคก็พยายามทำ content แบบวิดีโอแล้วใช้การ์ตูนสื่อถึงสาวสายตาสั้น เพื่อที่จะให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ตรงประเด็นขึ้น และเข้าใจง่า่่ยขึ้น แน่นอนว่าคงหวังจะเพิ่มการกระจายการรับรู้ของแบรนด์ด้วย ^^
แต่ประเด็นก็คือ วิดีโอน่าจะได้รับการตอบรับที่ดีกว่านี้ถ้าทางศูนย์เลสิคปรับเนื้อหาบางอย่าง ซึ่งได้แก่ หัวข้อ (เดิมเขียนว่าศูนย์เลสิค ลาดพร้าว — ซึ่งไม่ดึงดูดให้คนคลิกเลย — น่าจะเปลี่ยนเป็นประมาณว่า เรื่องเล่าสาวสายตาสั้น อะไรทำนองนี้) เนื้อหา (เช่นเดิมที่เนื้อหาโฟกัสแต่ที่บริการ ไม่ได้โฟกัสไปที่กลุ่มเป้าหมาย — เฮ่อออออ) และรูปหน้าปกวิดีโอ (ณ ตอนนี้รูปหน้าปกวิดีโอเป็นแค่รูปเด็กสาวยืนอยู่ทางฝั่งซ้ายและทางฝั่งขวามีแต่สีขาวว่างโล่งงงงง ไม่ชวนให้คลิกดูแต่อย่างใด)
ยิ่งไปกว่านั้น เนื้อหาในช่วงหลังกลับกลายเป็นเลคเชอร์เรื่องเลสิคไปเสียได้ ทั้ง ๆ ที่เกริ่น story ได้น่าสนใจ สุดท้ายกลับการเป็นสไลด์สอนคลาสเลสิคไปแทน น่าเสียดายจริง ๆ
เคสที่น่าสนใจ: คำเตือนจากคุณหมอ
เคสนี้เป็นของแฟนเพจ Bangkok Hospital โรงพยาบาลกรุงเทพ — ซึ่งจริง ๆ ก็มี content ดี ๆ อยู่เยอะนะครับ แต่ที่ผมมองว่าน่าสนใจ ก็ตรงเจ้า doctor’s quote นี่แหละ ยกตัวอย่างมาให้ดูนะครับ
ไอเดียเรื่องการให้ความรู้เรื่องโรคภัยต่อคนไข้นั้นน่าสนใจ และจัดเป็น content ที่ดี แต่เจ้าโพสต์นี้กลับพยายามทำทั้งการให้ความรู้และการขายแพ็คเกจผ่าตัดไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งทำให้ผมเกิดคำถามว่า
คนที่เพิ่งทราบว่าตัวเองมี “ความเสี่ยง” จะพร้อมผ่าตัดในตอนนี้เลยเหรอ เขาต้องไปตรวจก่อนหรือเปล่า
คนตรวจพบจากที่อื่นแล้วว่าตัวเองเป็นซีสต์รังไข่ พออ่าน quote นี้แล้วจะอยากผ่าตัดกับโรงพยาบาลกรุงเทพทันทีเลยเหรอ
นั่นหมายความว่า ในโพสต์นี้ทางโรงพยาบาลกำลังคุยกับกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีความเสี่ยง กับกลุ่มที่เป็นซีสต์รังไข่อยู่แล้ว ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้อยู่ต่างสถานะกัน ก็ต้องนำเสนอบริการต่างกัน กลุ่มแรกอาจได้รับแพ็คเกจตรวจซีสต์รังไข่ฟรีหรือมีส่วนลด เพื่อที่จะได้ทราบแล้วมาผ่าตัดกับเราได้ทันที ในขณะที่กลุ่ม 2 นั้นทางโรงพยาบาลก็ต้องทำ content ออกมาตอบให้ได้ว่า ทำไมถึงต้องผ่าตัดซีสต์รังไข่กับที่นี่
ในภาษาของการตลาดออนไลน์ ทางโรงพยาบาลมีปัญหาในเรื่อง customer journey อย่างแรง และหลังจากที่ผมเข้าไปอ่านแพ็คเกจผ่าตัด ก็พบว่ายังปัญหาเรื่องการ sale page อีกด้วย เพราะพอคนคลิกเข้าไปอ่านแพ็คเกจผ่าตัด แต่ในหน้าแพ็คเกจก็ยังพูดถึงแต่ “ความเสี่ยง”
สาวที่คลิกเข้ามาอ่านคงร้องเฮ้ย แล้วบอกว่าจะมาพูดเรื่องความเสี่ยงอีกทำด๋อยอะไร บอกชั้นมาสิว่าแพ็คเกจของคุณมันดียังไง (เนื้อหาเรื่องแผลผ่าตัดเล็กนี่ ตัวเล็กกว่าคำว่าเสี่ยง แถมสังเกตออกยากมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกก)
ครั้งนี้ขอยกตัวอย่างไว้แค่นี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวผมจะอินไปมากกว่านี้ 555 ส่วนใครที่ยังไม่ได้อ่านตอนที่ 1 สามารถกลับไปอ่านได้ที่นี่ กรณีศึกษาการตลาดออนไลน์ของโรงพยาบาล ตอนที่ 1 การโฆษณาออนไลน์
สำหรับโรงพยาบาลที่สนใจจ้างที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ เราขอแนะนำให้อ่านบทความของเราเรื่อง จ้างที่ปรึกษาการตลาดอย่างไร ให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด เสียก่อนนะครับ
หรือถ้าสนใจปรึกษาเรา ติดต่อได้ที่ Line @DigiTide ได้เลยนะครับ