การทำ SEO คืออะไร กับ 8 ขั้นตอนทำให้ติดหน้าแรก Google ด้วยตัวเอง

การทำ seo

ช่วงที่ผ่านมาผู้คนเริ่มทำสนใจ การทำ SEO มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบ B2B , B2C , SME หรือ คนขายของออนไลน์ เนื่องจากการตลาดผ่านโซเชียวมีการปรับการมองเห็นลดต่ำลง ค่าโฆษณาเริ่มไม่คุ้มกับรายได้ ทำให้ต้องลองหาวิธีอื่น เพื่อสร้างให้ยอดขายกลับมาเหมือนเดิม ซึ่งวิธีการนั้นคือ การทำให้ติดอันดับใน Google

Digitide แนะนำว่า

จริงๆ แล้ว ทุกธุรกิจควรทำเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียพร้อมกันตั้งแต่แรก

การทำ SEO คืออะไร

SEO หรือ Search Engine Optimization คือ การทำให้คำค้นหาติดอันดับใน Search Engine หรือระบบการค้นหา ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ใช้คือ Google จริงๆ แล้วมีอีกหลากหลายเจ้า คือ Bing ,Yahoo ของจีน ก็จะมี Baidu

หลักการทำคำค้นหาให้ติดอันดับได้มีง่ายๆ ดังนี้

  • ใช้ H1 กับ Title ที่มีคำค้นหา
  • ใช้ H2 กับ Longtail Keyword
  • เขียนเนื้อหาให้มีประโยชน์ต่อผู้ที่เข้ามาอ่าน
  • เขียน Title และ Description ให้มี Keywords อยู่ด้วย และ น่าสนใจ

หลักการทำมีแค่นี้เองครับ ง่ายใช่ไหมล่ะ ไม่ง่ายแบบนี้หรอกครับ ทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมา เป็นแค่ส่วนเดียวใน 8 ขั้นตอนที่ต้องทำให้ การทำ SEO ที่ทาง Digitide ตั้งใจทำบทความนี้มาเพื่อแบ่งปันให้อ่านกัน

ประเภทของ SEO?

สายขาว ทำถูกต้องทุกอย่าง ทำให้คนที่เข้ามารู้สึกดี Google รู้สึกดีด้วย จริงๆ ทุกคนควรเน้นตรงนี้ให้มากที่สุด ถ้าทำได้ ก็ทำสายขาวดีที่สุด และ ตลอดบทความนี้คือการทำสายขาวเท่านั้น

สายเทา มีการหลบเลี่ยง หรือ ใช้ตัวช่วยพิเศษในการทำให้ Google ชอบ ให้ติดอับได้ไว ซึ่งก็มีความเสี่ยงที่ Google จะจับได้ ถ้าจับได้ Google ก็แบน

สายดำ ทำทุกอย่างที่ขัดกับ Google ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสินค้าหรือบริการ หรือ วิธีการทำให้คำค้นหานั้นๆ ติดอันดับ ไม่แนะนำให้ทำเด็ดขาด

ปัจจัยการทำให้คำค้นหาติดอันดับมีอะไรบ้าง?

จากข้อมูลบอกว่าปัจจัยการทำให้คำค้นหาติดอันดับนั้นมี 200 กว่าตัว ไม่ว่าจะเป็นความเร็วของเว็บไซต์ในการเปิด, การวางตำแหน่งคำค้นหา, การมีลิงค์เข้า ลิงค์ออก, การใช้ Header, การแก้ error ภาพในเว็บไซต์ และ อีกมากมาย

สุดท้ายมาจบที่คำว่า “ทำเว็บไซต์ให้คุณภาพ เนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อผู้ค้นหา”

2 สิ่งสำคำคัญที่ต้องเข้าใจก่อนเริ่มทำ SEO

Onpage – ปัจจัยการทำเว็บไซต์ภายใน ซึ่งเราสามารถปรับและจัดเองได้ทั้งหมด

Offpage – ปัจจัยการทำเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมเองได้ทั้งหมด

ซึ่งบอกได้เลยว่า หากทำ Onpage ดีแล้ว อันดับคำค้นหาก็จะติดอย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องพึ่ง Offpage เลยด้วยซ้ำ อยากให้โฟกัสเรื่อง Onpage เป็นหลักนะครับ

SEO ทำเพื่มตอบสนอง 3 สิ่งนี้

Credit – ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ คือ การสร้างความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง จากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเรา

Content – เนื้อหาที่ดีและเกี่ยวข้องสอดคล้องกับคนที่ต้องการ คือ เนื้อที่ดีไม่ก๊อปใครมา คนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ที่สุด จากเนื้อหาที่ผลิตขึ้นมา

Crawlabiliy – Google เข้ามาเก็บข้อมูลได้ง่ายๆ คือ เป็นฝั่งเทคนิคเรื่องวิธีการทำให้ Google เข้าใจเว็บไซต์เราง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Sitemap ความเร็วเว็บ หรือ การแก้ Error ซึ่งจะค่อยๆ อธิบายต่อไป

SEO เป็นเรื่องของการใช้เวลาในการทำให้คำค้นหาติดอันดับ ดังนั้น ไม่แนะนำให้คาดหวังว่า ทำวันนี้ แล้วพรุ่งนี้จะคำค้นหา ที่เราต้องการจะติดในทันที เพราะไม่มีทางเป็นไปได้ ซึ่งการทำต้องใช้เวลา 3 เดือน ขึ้นไป ซึ่งต้องวางแผนให้ดีด้วย ยิ่งทำเป็นทีมได้ ยิ่งดี

มาเริ่มกันเลย….

Digitide สอน SEO ให้ทุกคนสามารทำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งสิ่งที่เราอธิบายทั้งหมด เป็น วิธีการทำ SEO ผ่านเว็บไซต์ WordPress เท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้กับเว็บไซต์รูปแบบอื่นๆ ได้ เพราะหลักการทำงานเป็นแบบเดียวกัน เราจะค่อยสอดแทรก เทคนิคการทำ SEO ไว้ตลอดบทความนี้

การทำ SEO

8 ขั้นตอนทำให้ติดหน้าแรก Google ด้วยตัวเอง

ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ keyword

เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดใน การทำ SEO เพื่อให้ติดอันดับ เพราะเมื่อหา Keyword เป็น วิเคราะเป็น ก็ถือว่าประสบความสำเร็จเยอะแล้ว ให้เวลากับการวิเคราะห์คำค้นหาให้มากๆ เข้าไว้ ไม่ควรทำผ่านๆ การวิเคราะห์ Keyword ที่ดี คือ การเข้าใจพฤติกรรมลูกค้า ว่าพวกเขา ค้นหาอะไร ค้นหาคำนั้นแล้ว เขาต้องการอะไรต่อหรือไม่

สมมติว่า เราต้องการขายรองเท้า Nike โจทย์ของเราคืออยากติดอันดับ คำว่า “รองเท้า Nike” ถามว่า คนค้นหาคำว่า รองเท้า Nike เขาต้องการอะไร? เขาต้องการเพียงแค่เข้ามาดูสินค้า ไม่ได้มีเจตนามาซื้อ คำถามต่อมา แล้วเราต้องการให้คนมาทำอะไรในเว็บไซต์เรา ให้คลิกมาซื้อเลยรึป่าว ถ้าใช่ ลองเลือกมาว่า รองเท้า Nike รุ่น ABC กับ รองเท้า Nike คนจะมีโอกาสซื้อแบบไหนมากกว่ากัน ซึ่งการวิเคราะห์คำค้นหาสิ่งที่ละเอียดอ่อนมาก และ ต้องนำเรื่อง Marketing Funnel มาเป็นส่วนช่วยในการทำการวิเคราะห์ด้วยยิ่งดี

อ่านเพิ่มเติม: Marketing Funnel คืออะไร?

แน่นอนว่า การคิดคำค้นหานั้น Google ได้มีเครื่องมือให้ใช้ เรียกว่า Google Keyword Planner ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับค้นหา Keywords เพื่อดูว่าแต่ละเดือน มีคนค้นหาคำนั้นอยู่ที่ปริมาณเท่านั้น แต่ว่าตอนนี้ Google Keyword Planner มันจะแสดงเป็นค่ากว้างๆ เช่น 10-100 , 100-1000 , 1000-10000 หรือ 10000-100000 พอข้อมูลเป็นแบบนี้ เราก็จะวิเคราะห์คำค้นหาได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจาก Google Keyword Planner เป็นส่วนหนึ่งของ Google Ads ที่เป็นเครื่องมือการลงโฆษณาของ Google ดังนั้น หากอยากเห็นคำค้นหาจริงๆ ต้องใช้ Google Ads ด้วย อาจจะลองเสียเงินเล็กน้อย เพื่อให้เห็นข้อมูลที่ชัดเจนขึ้น หรือ ใช้เครื่องมืออื่นก็ได้เช่นกัน

จะลองนำตัวอย่าง การทำร้านรองเท้า Nike มาเป็นตัวอย่างการทำวิเคราะห์ให้ดูตลอด ขั้นตอนการทำ SEO ในครั้งนี้นะครับ

ไปที่ Google Keyword Planner

การใช้ Google Keyword Planner ใส่คำค้นหาที่ต้องการ เลือกประเทศ ภาษา แล้วกดค้นหาได้เลย

Competition หมายถึง การแข่งขันใน Google Ads ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง การทำ SEO โดยตรง แต่มันหมายถึงว่า เป็น คำค้นหาเหล่านั้นมีโอกาสเป็นคำค้นหาที่หากทำให้ติดอันดับได้ ก็มีคนมาซื้อของได้เช่นกัน

กดดาว์นโหลดข้อมูลออกมาแล้วเริ่มทำการวิเคราะห์ ดังนี้

การวิเคราะห์คำค้นหานี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  1. คำค้นหาสำหรับการวางโครงสร้างเว็บไซต์ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนถัดไป
  2. คำค้นหาสำหรับนำมาทำเป็นบทความ

ตัวอย่างสำหรับโครงสร้างเว็บไซต์

ตัวอย่างที่จะนำมาเขียนบทความ

คำค้นหาทั้ง 2 แบบจะแตกต่างกันแบบมีเหตุผล ส่วนโครงสร้างเว็บจะอธิบายในหัวข้อถัดไป ส่วนแบบเขียนบทความจะมีคำอื่นมาใส่ด้วย เช่น ใหม่ล่าสุด สุดเท่ห์ ราคาถูก แบบนี้ เพื่อเป็นการสร้างการค้นหาเจอในได้มากขึ้น

ทักษะการวิเคราะห์ ต้องใช้เวลาทำขั้นตอนนี้ให้นานที่สุด เพราะว่า วิเคราะห์ดีเท่าไหร่ โอกาสจะติดอันดับก็จะมีมาขึ้น

การเว้นวรรคในภาษาไทยไม่ได้มีผลต่อการค้นหาของ Google

ขั้นตอนที่ 2 การวางโครงสร้างเว็บไซต์

เรื่องนี้ก็เป็นนึงในเรื่องที่สำคัญเช่นกัน การวางโครงสร้างเว็บไซต์ ซึ่งจากขั้นตอนแรก เราได้ทำการแยกข้อมูลสำหรับทำโครงสร้างเว็บไซต์ไว้แล้ว เว็บไซต์ที่ไว้สำหรับขายสินค้า จริงๆ แล้วมีโครงหลายหลายแบบ มันขึ้นอยู่กับโมเดลการทำธุรกิจ อย่าง Digitide เอง ก็ไม่ได้มีโครงสร้างของเว็บไซต์มากหนัก เพราะเราเน้นให้คนเข้ามาที่บทความเป็นหลัก ก็เลยไม่ได้วางโครงสร้าง

โครงสร้างเว็บไซต์ขายสินค้า

โครงสร้างเว็บไซต์ข่าว

โครงสร้างเว็บไซต์บริษัท

โครงสร้างเว็บคือการนำ Keyword หลัก ที่ต้องการมาวางใน Menu เพื่อให้ Google วิ่งมาเก็บข้อมูลไปได้ และ เป็นการสร้างทราฟฟิคให้กับ Keyword นั้นๆ อีกด้วย ดังนั้น ต้องคิดให้ดีเสมอ คำค้นหาทิ่วิเคราะห์มาแล้ว แข่งกับเจ้าใหญ่ๆ ไม่ได้ ก็ไม่ต้องใส่เข้ามา เพราะโอกาสติดอันดับน้อย เพราะฉะนั้น การวางโครงสร้างเว็บ ต้องผ่านการวิเคราะห์มาอย่างดี

ขั้นตอนที่ 3 การสร้างเว็บไซต์ที่ดี

การสร้างเว็บไซต์ที่ดีเริ่มมาตั้งแต่การเลือกชื่อโดเมนและการเรื่องโฮสติ้ง เลือกไม่ดีโอกาสการติดอันดับก็ไม่ง่าย

Domain หรือ ชื่อเว็บไซต์ ซึ่งหากสามารถหาซื้อโดเมนที่มีอายุก็ช่วยให้ติดอันดับง่ายขึ้น แต่โดเมนที่มีอายุต้องเฝ้าทุกวันกว่าจะได้ที่ดี ซึ่งมันก็จะมีวิธีการตรวจสอบ มือใหม่ ไม่ต้องทำก็ได้ แค่จะบอกว่า มันเป็นนึงปัจจัยที่ส่งผลต่ออันดับ

Domain ชื่อร้าน หรือ เกี่ยวข้องกับสินค้า ดีกว่ากัน?

ABC-Shop.com กับ Nikethai-shop.com ถ้าต้องเลือกคือ “แล้วแต่” ทั้ง 2 โดเมนมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน อย่าง ABC-Shop คือแบรนด์ร้าน ตอนเปิดมาขาย Nike แต่ไปอาจจะเอาอย่างอื่นมาขายก็ได้ ที่เกี่ยวข้องกับรองเท้า ส่วน Nikethai-shop คนก็จะรู้ว่าขายของไนกี้อนาคตอยากเพิ่มแบรนด์อื่นเข้ามาก็ยาก ซึ่งช่วงแรก Nikethai-shop อาจจะได้เปรียบกว่า แต่ในอนาคต ABC-Shop อาจจะได้เปรียบกว่าก็ได้

.com .net .co ต่างกันอย่างไร ส่งผลกับ Google ไหม?

ไม่ค่อยต่างเท่าไหร่ อยากใช้อะไรก็ได้ แต่ถ้าจะส่งผล ก็อาจจะเป็น .org .ac พวกนี้ Google จะให้คะแนนเป็นพิเศษเพราะเป็นองค์กรหรือการศึกษาซึ่งมีความน่าเชื่อถือสูงอยู่แล้ว แต่ถ้าทำในประเทศเป็นบริษัท .co.th ก็ส่งผลต่ออันดับไม่น้อยเช่นกัน สรุป อยากใช้อะไรก็ได้

Hosting คือ พื้นที่ในการเช่าเก็บข้อมูลของเว็บไซต์

Hosting ไหนดีสุด?

คงตอบไม่ได้ แต่บอกได้ว่า ยิ่งดี ยิ่งแพง ลองหาดูแล้วเลือกได้เลย หารีวิวดู เอาที่ซัพพอตดีๆ ไม่ทิ้งขว้าง ก็พอจะได้ไม่เหนื่อยมานั่งแก้เอง Hosting ที่ดีก็จะส่งผลต่อความเร็วของด้วยนะ เป็นปัจจัยนึงของ การทำอันดับ seo จะใช้ของไทยของนอกก็ได้

WordPress คือ ระบบจัดการเนื้อหาที่คนใช้มากที่สุด ตลอดบทความนี้ เนื้อหาที่เกี่ยวข้อกับเว็บ ก็เป็นการทำงานบน WordPress เป็นหลัก ซึ่งตัว WordPress ก็จะมีส่วนเสริมที่เรียกว่า Plugin ต่างๆ ให้ใช้ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำให้ติดอันดับเช่นกัน แน่นอนมันกาเว็บไซต์ที่ดี

ทั้ง Domain Hosting WordPress เป็นส่วนผสมให้เกิดเว็บไซต์ที่ดีได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเรามีงบประมาณในการทำขนาดนั้นไหน

ขั้นตอนที่ 4 การเขียนบทความที่ดี

การเขียนบทความสำหรับ SEO จริงๆ มันคือการเขียนบทความที่ทำให้คนรู้สึกชอบบทความเห็นบทความที่อ่านมีประโยชน์ ซึ่งและใน WordPress เราจะ Plugin ที่เรียกว่า Yoast SEO เข้ามาช่วยทำให้บทความติดอันดับ SEO แต่หัวใจหลักอยู่ที่การเขียนบทความ

วิธีการเขียนบทคามที่ดี คือ เขียนแบบหนังสือ มีตัวหัวข้อ มีตัวใหญ่ตัวเล็ก

  • มี Keywords อยู่ที่ H1
  • มี Keyword ที่เกี่ยวข้องอยู่ที่ H2 – H3
  • เขียนให้อ่านรู้เรื่อง มีประโยชน์กับคนอ่าน

เรื่อง DENSITY หรือ ความหนาแน่นของคำค้นหาหรือ Keyword ก็เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ควรเกิน 2-3% ใน 1 บทความ เช่น เนื้อหามีประมาณ 1000 คำ ก็ไม่ควรมี Keword ซ้ำ 20-30 คำ หากเกิน Google จะมองว่า เว็บไซต์กำลังพยายาม Spam ทำให้ไม่มีอากาศการติดอันดับ SEO

จำนวนคำที่ใช้ควรเท่าไหร่ดี? จากงานวิจัยพับว่าบทความที่มีความยาวเฉลี่ย 2000 คำ อยู่นั้นอันดับที่ 1-3 ของคำค้นหานั้น หมายถึงบทความ แต่เกี่ยวกับ ecommerce ให้เขียน 2000 คำคงทำไม่ได้ ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับธุรกิจด้วยเช่นกัน

วิธีการเขียน Snippet ที่ Yoast SEO

 

  • Title ต้องมี Keywords เขียนให้คนต้องคลิก
  • Description ต้องมี Keywords เขียนให้รู้ว่าคนอ่านจะได้อะไร
  • Keywords ใส่ Keywords หลักลงไป

การใช้ Yoast จะมีการบอกเบื้องต้นว่า เราทำได้ดีขนาดไหน หากดี SEO จะขึ้น Good สีเขียว แต่ไม่ต้องซีเรียสมาก เอาให้ SEO จะขึ้น OK  สีส้มๆ ก็ยังพอได้ มันขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่เขียน หามั่นใจว่า สิ่งที่เขียนดีอยู่แล้ว มีประโยชน์อยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นสีเขียวก็ได้ คำนึงถึงคนอ่านเป็นหลัก

จะเห็นได้ว่าหากวิเคราะห์คำค้นหามาแล้ว ก็นำคำค้นหาเหล่านั้นมาเรียบเรียง กับ กลุ่มลูกค้าได้เลย เช่น ได้คำว่า “รีวิว รองเท้าวิ่ง   Nike ผู้หญิง” ก็เพียงนำคำนี้มาขายบอกเราว่า วัสถุที่ใช้ทำ มีขนาดเท่าไหร่ ใครใช้บ้าง เปรียบเทียบกับรุ่นอื่นๆ ว่า ต่างอย่างไร ใส่รูป เพิ่ม Vdo แต่อย่าลืมนะ ต้องทำให้เป็นประโยชน์กับผู้อ่านให้ได้มากที่สุด เพียงเท่านี้ก็ติดอันดับใน Google ง่ายขึ้นแล้ว

ขั้นตอนที่ 5 การติดตั้งเครื่องมือของ Google

หากทำ SEO สายขาว ควรใช้เครื่องมือของ Google เหล่านี้ช่วย เพื่อให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพมาก

Google Search Console เครื่องมือสำหรับดูแลเว็บไซต์ เพื่อทำให้ Google รู้จักเราได้ดีขึ้น อีกทั้งยังสามารถดูเรื่องคำค้นหาได้ว่าตอนนี้อยู่อันดับที่เท่าไหร่แล้ว รวมไปถึงการแก้ไข Error ต่างๆ ภายในเว็บไซต์

วิธีการติดตั้ง Plugin Yoast SEO จากขั้นตอนที่ 4 เข้ามาเป็นส่วนนึงในการร่วมทำงานด้วย นั้นคือการทำสิ่งที่เรียกว่า sitemap และ การใส่ robot.txt

Google Analytics เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์เว็บไซต์ ซึ่งให้เราดูพฤติกรรมของผู้เข้าใช้เว็บไซต์ว่า คนเข้ากี่คน  เพศไหนบ้าง อายุเท่าไหร่ มาจากประเทศไหน อยู่หน้าไหนบ้าง อยู่นานเทาไหร่ ข้อมูลเหล่านี้จะได้นำไปพัฒนาต่อยอดการสร้างเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติม :

ทั้ง 2 ตัวนี้จะช่วยเราได้มากๆ ในการตรวจสอบและดูแลเว็บไซต์เราให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ ซึ่งจะใช้อย่างไร อยู่ในขั้นตอนที่ 8 คือ การวัดผลและตรวจสอบอันดับ

ขั้นตอนที่ 6 การโปรโมทบทความ

การโปรโมทบทความของเราคือ เราต้องมีสิ่งที่เรียกว่า Own Media หรือ ช่องทางสื่อสารของเราเอง นั้นคือพื้นที่เราสามารถนำเนื้อหาที่เราต้องการไปบอกต่อ ให้คนอ่าน ให้คนเห็นได้ โดยปกติแล้ว เราจะใช้ Facebook Page ในการแชร์บทความของเรา ซึ่งจริงๆ มันก็ทำได้อีกหลากหลายวิธี เช่น Facebook ตัวเอง , Facebook Group ที่เกี่ยวของ , Line Group ที่สนใจเรื่องเดียวกัน หรือ LINE@ แต่ไม่ค่อยแนะนำเท่าไหร่ เพราะว่า จะถูกบล็อกเยอะมากทุกครั้งที่แชร์

ทางที่ดีที่สุดต้องพายยามทำ 2 อย่าง คือ

1.สร้างชุมชนของตัวเองขึ้นมาให้ได้ เพื่อสร้างให้ตัวเองเป็นผู้นำของกลุ่มนั้นๆ การแชร์เนื้อหาของเรา คนก็พร้อมที่จะส่งต่อ แชร์ต่อ

2.ร่วมกลุ่มกับคนที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับเรา เข้าไปพูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์กับพวกเขา เพื่อให้เราสามารถแชร์บทความของเราต่อไปได้

ขั้นตอนที่ 7 การสร้างลิงค์ที่ดี

การสร้างลิงค์ทำได้ด้วยการได้หลายวิธี ซึ่ง ทำเพื่อ 2 อย่าง คือ ทราฟฟิค และ ความน่าเชื่อถือ ของเว็บไซต์

ทราฟฟิค คือ คนเข้าเว็บไซต์ ซึ่งบ่งบอกว่าเว็บไซต์ที่เราทำนั้นมีประโยชน์ คนถึงเข้ามาอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้ keyword หรือ คำค้นหานั้นๆ ติดอันดับขึ้นมาเรื่อยๆ

วิธีการทำในการเพิ่มทราฟฟิค ได้แก่ แชร์ใน Social Media ของเราเช่น Google Plus , Facebook , Facebook Group , Twitter , Youtube , หรือ จ่ายเงินโฆษณา Facebook Ads , Google Ads

ความน่าเชื่อถือ คือ มีเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ที่กำลังทำส่งลิงค์มาให้ ก็จะทำให้คะแนนของเว็บไซต์ดีขึ้น Google ก็จะมองว่า เว็บไซต์เรามีคุณภาพมากขึ้นนั้นเอง เช่น หากเราทำเว็บไซต์ขายรองเท้า Nike แล้วเว็บไซต์ Nike ทำบทความบอกว่า หากต้องการซื้อรองเท้า Nike ให้มาซื้อที่เว็บไซต์เรา แบบนี้คะแนนของเว็บไซต์เราก็จะสูงขึ้น

วิธีการสร้างความน่าเชื่อถือ คือ หาเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเรา อาจจะเป็นเว็บบอร์ด แล้วนำบทความเราไปแชร์ หรือ จ่ายเงินโฆษณากับเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องด้วยการขอติดป้ายโฆษณาแล้วชี้กับมายังร้านของเราก็ได้

“ทราฟฟิค คือ สิ่งสำคัญ ไม่มีทราฟฟิค ไม่มีอันดับ”

ขั้นตอนที่ 8 การวัดผล ตรวจสอบอันดับ

การวัดผลคือการใช้ 2 เครื่องมือ Google เข้ามาช่วยนั้นคือ Google Analytics และ Search Console เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นที่รักของคนที่เข้ามามากขึ้น

Google Analytics มีไว้ดู 2 สิ่ง คือ

 

1.Bounce Rate คือ อัตราการเข้ามาหน้าเว็บไซต์แล้วออกไปเลย ตรงนี้จะเป็นตัวชี้วัดว่าเนื้อหาของเว็บไซต์เราสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องคนต้องการหาหรือไม่ ซึ่งยิ่งทำให้ Bounce Rate ยิ่งน้อย ยิ่งดี

วิธีการคือ ทำให้คนอยู่ในหน้านั้น คลิกไปต่อหน้าอื่นให้ได้ ด้วยการสร้าง บทความที่เกี่ยวข้อง หรือ สอดแทรกบทความแนะนำในบทความที่เขียน และ สำหรับเว็บไซต์ขายของอาจจะเป็นการทำให้ยอม กด Add to Cart ให้ได้ อาจจะด้วยการทำสอบเรื่องสีปุ่ม หรือ โปรโมชั่น

2.Avg. Time on Page ค่าเฉลี่ยเวลาคนที่อยู่ในเว็บไซต์ ค่านี้จะชี้วัดว่าเว็บไซต์เรามีคุณภาพมากแค่ไหน ซึ่งควรทำให้อยู่นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างบทความก็ควรอยู่อย่างน้อย 1 นาที

ซึ่งสามารถเพิ่มเวลาคนที่เข้ามาดูเว็บไซต์ให้นานขึ้นได้ด้วยการใส่ภาพ หรือ วีดีโอ หรือ รีวิว ต่างๆ ให้ลูกค้าอยู่ในเว็บไซต์ได้นานขึ้น

Search Console ดู 3 สิ่ง คือ

1.Error ในหน้าเว็บไซต์ ซึ่งการมี Error ทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์ดูไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น Error ควรแก้ไขให้เรียบร้อย ซึ่งวิธีแก้ต่างๆ สามารถหาดูได้ที่นี่ link

2.ดูคำค้นหาและปริมาณคนเข้าเว็บไซต์ ซึ่งจริงๆ ตรงนี้สามารถดูได้ที่ Google Analytics เช่นกัน แต่วิธีการเหมือนกัน โดยปกติ เราก็จะดูคำค้นหาหลักของเราว่าอยู่อันดับที่เท่าไหร่ มีทราฟฟิคมากน้อยขนาดไหน มากไปกว่านั้น ก็เอาคำค้นหาที่เกินอันดับที่ 10 มาทำบทความ หรือ ปรับปรุงบทความเพิ่มเติม เพื่อคำค้นหานั้นติดอันดับสูงมาขึ้นไปเรื่อยๆ

3.ตรวจสอบ Backlink คือ Link ที่คนอื่นส่งมาให้เรา แต่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติมว่า ลิงค์ที่ส่งมานั้นเป็นเว็บที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ ถ้ามีก็อาจจะไปดีล ว่า ขอลงบทความของเราโดยตรงเลยได้ไหม จะได้สร้างทราฟฟิคที่ดีกลับมาที่ยังเว็บไซต์เราได้

เมื่อทำทั้งหมดนี้แล้ว อันดับ SEO ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และได้ทราฟฟิคมาเว็บมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน การทำ SEO ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่าย เพียงแต่ต้องเข้าใจและเรียนรู้อยู่เสมอ การทำ SEO แบบ Digitide ก็จบลงด้วยประการฉะนี้

 

ทีมงาน Digitide