ผู้เชี่ยวชาญที่อยากสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์นั้น ควรวางแผนการสร้าง content เพื่อนำไปสู่สินค้าและบริการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน การขาดโครงสร้างที่เหมาะสมอาจจะสร้างปัญหาได้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น
การมีสินค้า/บริการอยู่ตัวเดียว ถ้าราคาสูง ก็จะทำให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการครั้งแรกได้ลำบาก แต่ถ้าราคาต่ำ ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากกลุ่มลูกค้าได้เต็มที่ (หรือ อาจทำให้ position ดูต่ำกว่าความเป็นจริงไปด้วย)
การมีสินค้า/บริการอยู่หลายตัว แต่กลับไม่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างสินค้า/บริการแต่ละตัว ก็ทำให้เราใช้ประโยชน์จากลูกค้าเก่า (ที่น่าจะชอบบริการของเราแล้ว) ได้ไม่เต็มที่เช่นกัน
ดังนั้นเราจึงเสนอแนะให้ทำ Value Ladder ของสินค้า/บริการเอาไว้ด้วย ยกตัวอย่างง่าย ๆ ดังตัวอย่างในรูปนี้เลย
// รูป Value Ladder //
จะเห็นว่าการวาง Value Ladder แบบนี้ จะทำให้ลูกค้าเข้ามาพบเจอเราได้ง่าย เพราะเข้ามาด้วยสินค้า/บริการที่ราคาถูกที่สุดของเราก่อน แต่สิ่งสำคัญคือพวกเขาต้อง
(1) ชื่นชอบสินค้า/บริการของเราหลังจากได้ใช้แล้ว
(2) รู้สึกถึงตัวตนของเรา และสิ่งที่ทำให้เราแตกต่างจากคู่แข่งในท้องตลาด
เพราะถ้ามีทั้งสองปัจจัยนี้ เราก็จะสามารถชักนำเขาให้เดินขึ้นบันได พูดง่าย ๆ ก็คือซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่ราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ได้นั่นเอง ซึ่งจากในตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ลูกค้าอาจจะเริ่มจากการซื้อหนังสือในราคาหลักร้อย แล้วค่อยเข้าคอร์สเรียนในราคาหลักพัน จากนั้นใช้บริการที่ปรึกษาในราคาหลักหมื่น
กรณีที่ผู้เชี่ยวชาญหวังให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการที่ปรึกษาตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอนั้นจะลำบากมากครับ นอกเสียจากที่ปรึกษาจะสร้างแบรนด์มาด้วยระยะเวลาพอสมควรแล้ว หรือไม่ก็ต้องเคยทำ content ออกมาอย่างต่อเนื่องจนมีคนติดตาม
ซึ่งถ้ามองจากจุดนี้ free content ก็สามารถถูกจัดอยู่ในบันไดขั้นแรกของ Value Ladder ด้วยเช่นกันนะครับ
// รูป Value Ladder แบบปรับแล้ว
ดังนั้นเอง ในเคสของผู้เชี่ยวชาญที่ยังไม่มีสินค้าและบริการ ก็อาจวาง Value Ladder ให้กับ Content ของตัวเองได้เช่นกันครับ (แต่จริง ๆ แล้วก็ควรเริ่มวางแผน Value Ladder ของสินค้า/บริการเตรียมไว้ก่อนด้วย) โดยอาจจะเริ่มจาก Content กึ่งๆ mass ที่สามารถเข้าถึงคนได้ง่ายเพื่อดึงคนกลุ่มใหม่ ๆ เข้ามา (ภาษานักการตลาดออนไลน์จะเรียกว่า Cold Audience) แล้วค่อย ๆ เสิร์ฟพวกเขาด้วย Content ที่ specialized มากขึ้นเรื่อย ๆ ในภายหลัง (พวกเขาในที่นี้ คือกลุ่มคนที่เริ่มรู้จักเราแล้ว เขาก็จะเปลี่ยนจาก Cold เป็น Warm Audience ล่ะ)
เห็นไหมครับว่าการวาง Value Ladder ของ Content ก็สามารถนำไปใช้กับการดึงดูด Cold Audience ให้มาเป็น Warm Audience และถ้าวาง Content ดี ๆ ก็จะนำพาพวกเขาไปสู่สินค้าหรือบริการได้ในที่สุด (นั่นคือเป็น Hot Audience แล้วนี่เอง) <– จริง ๆ แล้วนี่เป็นเทคนิคยิงโฆษณา (ad) ที่ใช้กันทั่วไปเลยครับ เพียงแต่ว่าต้องมีรายละเอียดในการวางแผนและติดตั้งอยู่พอสมควร
เช่นกันที่เทคนิคนี้ก็เอามาใช้กับสินค้าและบริการครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญหลายรายไม่ถนัดกันสักเท่าไหร่ เคสที่มีปัญหาบ่อย ๆ ก็คือการวางโครงสร้างหลักสูตรของคอร์สเรียนต่าง ๆ ให้ตรงกับความเชี่ยวชาญของตัวเอง แต่ก็เข้ากับแนวคิด Value Ladder ไปด้วยนี่แหละ
สำหรับผู้ที่อยากสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญแล้ว การวางแผน Value Ladder ตั้งแต่ต้นจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แบรนด์เริ่มต้นและเติบโตได้ดีเลยครับ เอาไปใช้กับทั้ง Content และสินค้า/บริการเลยนะครับ
ถัดจากการวาง Value Ladder แล้ว สิ่งที่พึงกระทำต่อก็คือการวิเคราะห์และวางโครงสร้างสื่อออนไลน์ครับ เพื่อที่จะได้นำโครงสร้างนี้ไปประกอบกับสื่อออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม การสร้างตัวตนก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงขึ้นไปด้วย
แต่ถ้าผู้เชี่ยวชาญสนใจให้ DigiTide มาวิเคราะห์ วางโครงสร้าง ปั้นแบรนด์และทำตลาดให้กับคุณแบบรวบรัดตัดตอน เรามีบริการรับทำให้ครบวงจรเลยครับ ติดต่อเรามาได้เลย 🙂